บทความ

รูปภาพ
ราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581-618) เขตแดนราชวงศ์สุย สุยเหวินตี้ฮ่องเต้  ได้รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง แต่โอรสคือ สุยหยางตี้ ไม่มีความสามารถ ทำให้ซ้ำรอยราชวงศ์ฉิน บรรดาผู้ปกครองหัวเมืองต่างตั้งตนเป็นใหญ่และแย่งอำนาจกัน  ราชวงศ์สุย อยู่ได้เพียงสองรัชกาลเช่นกัน ( พ.ศ. 1124  -  1160 ) (ค.ศ. 581-617) ภายหลังการรวมแผ่นดินของราชวงศ์สุย สภาพสังคมโดยรวมได้รับการฟื้นฟูจากภาวะสงคราม มีการเติบโตด้านการผลิต เกิดความสงบสุขระยะหนึ่ง สุยเหวินตี้ ได้ดำเนินการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยยุบรวมเขตปกครองในท้องถิ่น ลดขนาดองค์กรบริหาร รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ฮ่องเต้กุมอำนาจเด็ดขาดทั้งในทางทหาร การปกครองและเศรษฐกิจ โดยมีขุนนางเป็นเพียงผู้ช่วยในการบริหาร ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) ภาพเขตแดน ราชวงศ์ถัง หลี่หยวน  (หลี่เอียน) หรือถังเกาจูฮ่องเต้ ขุนนางใหญ่ในสมัยสุย ได้ลุกฮือที่แดนไท่หยวน และได้บุตรชายคนรองหลี่ซื่อหมิน ทำการชนะศึกอย่างต่อเนื่อง ได้ตั้งราชธานี ที่เมืองฉางอัน (เมือง ฉางอัน เป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ อาทิ  ฮั่นตะวันตก   ราชวงศ์สุย ...
รูปภาพ
สมัยราชวงศ์และจักรวรรดิ ราชวงศ์ฉิน (221-206 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จีนยุคจักรวรรดิ ดูบทความหลักที่:  ราชวงศ์ฉิน เขตแดนราชวงศ์ฉิน นักประวัติศาสตร์นิยมเรียกประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่  ราชวงศ์ฉิน  ถึง  ราชวงศ์ชิง  ว่าเป็นจีนยุคจักรวรรดิ ถึงแม้ว่าราชวงศ์ฉินจะมีอายุเพียงแค่ 12 ปี แต่พระองค์ได้วางรากฐานสำคัญของ อารยธรรมชนเผ่าฮั่น ไว้เป็นจำนวนมาก เมืองหลวงตั้งอยู่ที่ เสียนหยาง  (咸陽) (บริเวณเมือง ซีอาน ปัจจุบัน) พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้ ต้องการบังคับประชาชนให้ใช้มาตรฐานที่กำหนดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้การรวมประเทศสมบูรณ์ จึงเลือกใช้วิธีค่อนข้างบีบคั้นและรุนแรงด้วยการประหารเหล่าปัญญาชนที่ต่อต้านคำสั่งของพระองค์และสานุศิษย์ขงจื๊อ นอกจากนั้นยังออกคำสั่งเผาหนังสือในความครอบครองของขุนนางและชาวบ้านซึ่งมิใช่มาตรฐานของพระองค์ทั้งหมด แล้วเร่งเผยแพร่มาตรฐานของแผ่นดินโดยเร็ว สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของราชวงศ์ฉินคือ  กำแพงเมืองจีน  ซึ่งเป็นการต่อแนวกำแพงเก่าให้เป็นปึกแผ่น ฉินซีฮ่องเต้สร้างแนวปกกันพวกป่าเถื่อนจากทางเหนือโดยการสร้างกำแพงต่อเชื่อมกำแพงเดิมที่อยู่เดิ...
รูปภาพ
ยุคชุนชิว (春秋:Chūnqiū) (770-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ดูบทความหลักที่:  ยุคชุนชิว 春秋五霸 (Chūnqiū wǔ bà) มี 5 นคร คือ 齐桓公(Qí huángōng),宋襄公 (Sòng xiānggōng ),晋文公 (Jìn wéngōng),秦穆公 (Qín mùgōng),楚庄王(Chǔ zhuāng wáng). หลังจากอาณาจักรโจวตะวันตกของพระโจวโยวหวังล่มสลายลงโดยความร่วมมือของเจ้านครรัฐบางคนกับเผ่าเฉวี่ยนหรงแล้ว พวกเขาสถาปนารัชทายาท อี้จิ้ว ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ทรงพระนามว่า พระเจ้าโจวผิงหวัง แล้วย้ายไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองลั่วอี้ เนื่องจากเมืองเฮ่าได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้อย่างมาก นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงการครองอำนาจของราชวงศ์นี้ว่า  ยุคชุนชิว  (Spring and Autumn Period) ซึ่งมีสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ของเจ้านครรัฐต่างๆเป็นระยะเพื่อความเป็นเจ้าผู้นำนครรัฐ ยุคนี้เริ่มต้นในปี 770 ก่อนค.ศ. (227 ปีก่อนพ.ศ.) รัชสมัยพระเจ้าโจวผิงหวัง ถึง ปี 476 ก่อนค.ศ. (67 ปีก่อนพ.ศ.) หรือปีที่ 44 สมัยพระเจ้าโจวจิ้งหวัง ยุคเลียดก๊ก (战国七雄:Zhànguó qīxióng) ดูบทความหลักที่:  ยุคเลียดก๊ก ต้นยุคชุนชิวแผ่นดินจีนมีประมาณสองร้อยนครรัฐ แต่สงครามแย่งชิงอำนาจหรือแผ่ขยายอิ...
รูปภาพ
ราชวงศ์โจว (周朝:Zhōu cháo) (1046-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช) [ แก้ ] ดูบทความหลักที่:  ราชวงศ์โจว เขตแดนราชวงศ์โจว นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งราชวงศ์โจวออกเป็น ราชวงศ์โจวตะวันตก และ ราชวงศ์โจวตะวันออก ซึ่งมีระยะครองแผ่นดินต่อเนื่องกัน 790 ปี (ยาวนานที่สุดในจีน) แต่มีการย้ายเมืองหลวงหลังจากแพ้ชนะกัน จึงแบ่งราชวงศ์นี้ด้วยทิศทางของเมืองหลวงเป็นหลัก ราชวงศ์โจวตะวันตก (1046-771 ปีก่อนคริสต์ศักราช) [ แก้ ] ดูบทความหลักที่:  ราชวงศ์โจวตะวันตก เผ่าโจวเป็นเผ่าเก่าแก่และใช้แซ่ จี โดยอาศัยแถบลุ่มน้ำเว่ยเหอ ต่อมาย้ายถิ่นไปอยู่ ฉีซาน (ด้านเหนืออำเภอฉีซาน  มณฑลฉ่านซี ปัจจุบัน) ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ด้านการเพาะปลูกมากกว่า แล้วเรียกตนเองว่า ชาวโจว ผู้นำเผ่าทุกรุ่นต่างปรับปรุงโครงสร้างเผ่า ก่อสร้างบ้านเรือน และกำหนดตำแหน่งขุนนาง ทำให้มีลักษณะของชาติรัฐชัดขึ้น เมื่อผู้นำนามว่า จีฟา ทำลายราชวงศ์ซางสำเร็จแล้ว จึงสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้นปกครองแผ่นดิน และเปลี่ยนพระนามเป็น  พระเจ้าโจวอู่หวัง  แล้วสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองเฮ่า (ด้านตะวันตกอำเภอฉางอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) นักประวั...
รูปภาพ
ราชวงศ์ซาง (商朝:Shāng cháo) (1600-1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช) [ แก้ ] ดูบทความหลักที่:  ราชวงศ์ซาง เขตแดนราชวงศ์ซาง ราชวงศ์ซางมีอำนาจอยู่ประมาณ 550 ปี คือ ตั้งแต่ 1600-1046 ปีก่อน คริสต์ศักราช  (1057-503 ปีก่อนพ.ศ.) ในช่วงนี้เริ่มมีการก่อตั้งกองทหาร, ข้าราชการและมีการลงโทษตามกฎหมาย มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 31 พระองค์ เมื่อพระเจ้าเจี๋ยแห่งราชวงศ์เซี่ยซึ่งไร้คุณธรรมสร้างความเกลียดชังแก่คนทั้งแผ่นดินเพิ่มขึ้น จนกระทั่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิชอบพฤติกรรมของพระองค์ รวมตัวกันเป็นกองกำลังเพื่อต่อต้านการปกครองของเจ้าแผ่นดิน ทัง มีอำนาจอยู่แถบเมืองซางได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้าเผ่าต่างๆจึงใช้กำลังพลและอาวุธโค่นล้มการปกครองของราชวงศ์เซี่ย แล้วสถาปนาราชวงศ์ซางขึ้น โดยตั้งเมืองหลวงที่ เมืองปั๋ว (อำเภอเฉาเซี่ยน  มณฑลซานตง ปัจจุบัน) เนื่องจากทังเป็นชนชั้นสูงในราชวงศ์เซี่ยมาก่อน จึงถือว่าเป็นการปฏิวัติของชนชั้นสูงครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน นอกจากนั้นยุคนี้ยังเริ่มมีการใช้ภาชนะสำริดอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะประเภท ถ้วยสุรา มีดวงพระจันทร์ กลองสำริด ซึ่งมีการขุดค้นพบเป็นหลักฐานกันมาก การ...
รูปภาพ
ราชวงศ์เซี่ย (夏朝:Xià cháo)(2100-1600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ดูบทความหลักที่:  ราชวงศ์เซี่ย เขตแดนราชวงศ์เซี่ย เล่ากันว่า ในสมัยเหยา (尧:Yáo) นั้น แม่น้ำหวงเหอ (黄河:Huánghé) เกิดอุทกภัยน้ำหลากเข้าทำลายบ้านเมือง ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพไปอาศัยอยู่บนต้นไม้หรือบนยอดเขาเท่านั้น ซึ่งภายหลังพระเจ้าอวี่ (禹:Yǔ) ใช้เวลา 13 ปีในการแก้ปัญหาอุทกภัยนี้สำเร็จ และได้รับขนานนามว่า ต้า-ยวี่ “大禹” (Dà yǔ) ปกครองจีนในช่วง 2100-1600 ปีก่อนคริสตกาล (1557-1057 ปีก่อนพ.ศ.) มีอำนาจอยู่แถบ มณฑลชานสี ในปัจจุบัน ใกล้ลุ่มน้ำเหลือง กษัตริย์เซี่ยองค์แรกคือ  พระเจ้าอวี่  เริ่มประเพณีการสืบ ราชสมบัติ ตามสายโลหิต ในระยะแรกสืบจากพี่มาสู่น้อง สมัยราชวงศ์เซี่ยนี้ มีหลักฐานว่าผู้ปกครองมักเป็นหัวหน้าทางศาสนาหรือมีหน้าที่ทำปฏิทินด้วย แต่ต่อมาความสำคัญทางศาสนาหรือความเชื่อเรื่องนี้เสื่อมลงไป เมื่อพระเจ้าอวี่ขึ้นครองราชย์และสถาปนาราชวงศ์นี้ ในปีที่ 2070 ก่อนคริสตกาล ยังยึดหลักการสละราชบัลลังก์ตามแบบประเพณีนิยมของ พระเจ้าเหยา และ พระเจ้าซุ่น แก่ผู้ที่มีความสามารถ โดยเตรียมให้ อี้ ผู้ช่วยรับช่วงสืบราชสมบัติ ...
รูปภาพ
ประเทศจีน เป็นประเทศที่มี อารยธรรม ยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน ในยุค ราชวงศ์กอณัฐ  ( ศตวรรษที่ 58 ก่อน ค.ศ. ) ให้เป็นภาษากลางใช้ได้ทั่วประเทศ เป็นครั้งแรกในโลก (ไม่ว่าชนเผ่าใดๆจะพูดต่างกัน สำเนียงต่างกัน แต่ใช้ตัวเขียนเหมือนกัน) และการพัฒนาแนวคิด ลัทธิขงจื๊อ  เมื่อประมาณ  ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ.  ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น เช่น มองโกล แมนจู ญี่ปุ่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ใน ทวีปเอเชีย  และในสังคมโลก ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดนักว่าเริ่มต้นเมื่อไร แต่จากการขุดพบวัตถุโบราณตามลุ่ม แม่น้ำฉางเจียง และ หวางเหอ  แบ่งช่วงเวลานี้ออกได้เป็นสังคมสองแบบ แบบแรกเป็นช่วงที่ผู้หญิงเป็นใหญ่เรียกว่าช่วง วัฒนธรรมหยางเซา  และช่วงที่ผู้ชายเป็นใหญ่เรียกว่า วัฒนธรรมหลงซาน  ตำนานเล่ากันว่าบรรพบุรุษจีนมีชื่อเรียก...